ตัวกลางการสื่อสาร

ตัวกลางการสื่อสารและอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.สายคู่บิดเกลียว
           สายคู่บิดเกลียวเป็นสายชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการนำมาใช้งานตามห้องปฏิบัติการ     คอมพิวเตอร์ทั่วไปรวมทั้งตามสำนักงานต่างๆสายชนิดนี้ได้เชื่อมาจากลักษณะองค์ประกอบทางภายในของสายลวดที่เป็นสายลวดทองแดงสองเส้นนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดเป็นสนามแม่เหล็กซึ่งใช้เป็นเสมือนเกราะสำหรับป้องกันสัญญาณรบกวนทั่วไปได้ในตัวเองจำนวนรอบหรือความถี่ในการพันเกลียว เช่น พันเกลียว 10 รอบต่อความยาว 1 ฟุต นั้น   มีผลโดยตรงต่อกับกำลังของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น  ถ้าจำนวนรอบสูงก็จะทำให้สนามแม่เหล็กมีกำลังแรงขึ้น สามารถป้องกัน  สัญญาณรบกวน ได้ดีขึ้น แต่ก็ทำให้สิ้นเปลืองสายมากขึ้น แต่ถ้าจำนวนรอบต่ำ ก็จะเกิดสนามแม่เหล็กกำลังอ่อน ซึ่งช่วยป้องกันสัญญาณที่รบกวนได้น้อยลงและก็ช่วยให้ใช้สายเปลืองน้อยลงเช่นกันโดยทั่วไปแล้วสายชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าสายที่ไม่มีการ พันเกลียวเลยบริเวณแกน ของสายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียว ซึ่งจะประกอบด้วยสายทองแดงจำนวนหนึ่ง หรือหลายคู่สาย ห่อหุ้มสายด้วยฉนวนบางๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร ของไฟฟ้าแล้วนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเป็นคู่ ทุกคู่จะถูกห่อหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งรวมกันเป็นสายขนาดใหญ่เพียงสายเดียวสายคู่บิดเกลียวแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)

2.สายโคแอ็กเซียล
                 สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจาก เสาอากาศ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด  75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อกสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วจากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติกลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมากและนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่องโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน

3.เส้นใยแก้วนำแสง
          เส้นใยแก้วนำแสงหรือออปติกไฟเบอร์หรือไฟเบอร์ออปติกเป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูงยืดหยุ่นโค้งงอได้ใยแก้วนำแสงทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งแสงจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง เมื่อนำมาใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้สามารถส่ง-รับข้อมูลได้เร็วมาก ได้ระยะทางได้เกิน 100 กม.ในหนึ่งช่วง และเนื่องจากแสงเป็นตัวนำส่งข้อมูล ทำให้สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก ไม่สามารถรบกวนความชัดเจนของข้อมูลได้ ใยแก้วนำแสงจึงถูกนำมาใช้แทนตัวกลางอื่นๆในการส่งข้อมูล

4.คลื่นไมโครเวฟ
         คลื่นไมโครเวฟเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ไกลนักราคาถูกใช้ในงานทางราชการทหารและโทรทัศน์ชุมสายทางไกลของโทรศัพท์ แต่มีข้อเสียอาจถูกรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสภาพอากาศ ค่าติดตั้งและจานมีราคาแพง
 
5.คลื่นวิทยุ
   คลื่นวิทยุส่งข้อมูลแบบไร้สายและสร้างเครือข่ายได้กว้างไกลการติดตั้งไม่ยุงยากแต่ไม่ค่อยมีความปลอดภัยอาจถูกรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสภาพอากาศต่างๆ เช่น ฝน หมอก

6.แสงอินฟราเรดหรือคลื่นความถี่สั้น
        แสงอินฟราเรดหรือคลื่นความถี่สั้นใช้มากในการสื่อสารระยะใกล้เช่นรีโมทคอนโทรลของเครื่องรับโทรทัศน์ สร้างได้ง่ายราคาถูกและมีความปลอดภัยในการส่งสัญญาณดีกว่าคลื่นวิทยุแต่ไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้

7.ดาวเทียม
         มนุษย์ได้คิดค้นดาวเทียมขึ้นมาเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในระยะทางไกลๆโดยดาวเทียมที่สร้างขึ้นในสมัยแรกๆนั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนคลื่นวิทยุความถี่ไมโครเวฟต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีการติดตั้งอุปกรณ์รับส่งคลื่นไมโครเวฟเข้าไปในตัวของดาวเทียมเพื่อใช้ทวนสัญญาณความถี่ไมโครเวฟแล้วแปลงความถี่ให้แตกต่างกันก่อนส่งมายังโลกดาวเทียมสามารถโคจรรอบโลกได้โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น